การติดตั้ง WordPress บนเซิร์ฟเวอร์จริง (Webmin)

บทต่อไปนี้เราจะมาทำ การติดตั้ง WordPress บนเซิร์ฟเวอร์จริง ๆ โดยจะแนะนำขั้นตอนการติดตั้ง ตั้งแต่ขั้นตอนแรก ไปจนกระทั่งได้เว็บไซต์มาใช้งาน มีรายการสิ่งที่ต้องตรวจสอบและเตรียมความพร้อมว่าต้องทำอะไรบ้าง โดยในที่นี้จะยกตัวอย่างการติดตั้งผ่านระบบจัดการหลังบ้าน Webmin

เนื่องจากเซิร์ฟเวอร์ของเราส่วนใหญ่ใช้ระบบจัดการหลังบ้าน หรือ web hosting control panels เป็น Wenmin เพราะฉะนั้นก็เลยจะมาแนะนำการติดตั้งบน Webmin ก่อน ส่วนใครที่ใช้ระบบจัดการหลังบ้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น DerectAdmin , cPannel เดี๋ยวผมจะเขียนเพิ่มให้ทีหลัง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะใช้งานระบบหลังบ้านตัวไหน หลักการนั้นก็เหมือนๆกัน ถ้าเราเข้าใจไม่ว่าจะใช้งานหลังบ้านตัวไหน ก็จะสามารถติดตั้งได้หมด

เซิร์ฟเวอร์ของเราต้องติดตั้งอะไรบ้าง?

โดยปกติแล้วเซิร์ฟเวอร์ที่เราเช่ามาสำหรับทำเป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ มักจะติดตั้งซอฟแวร์มาให้พร้อมอยู่แล้ว เราแทบจะไม่ต้องติดตั้งอะไรเพิ่มเลย อาจจะแค่เช็คว่าเวอร์ชันที่เราใช้นั้นเป็นเวอร์ชันอะไร (ผมเขียน Requirement เอาไว้แล้วในบทความก่อนหน้า เรื่อง WordPress คืออะไร?)

  1. Nginx server หรือ Apache server ตัวใดตัวหนึ่ง และติดตั้ง PHP version 7.xx มาให้พร้อมใช้งาน
  2. MySQL หรือ MariaDB ตัวใดตัวหนึ่งก็ได้ ถ้ามีสองอย่างนี้แล้วก็พร้อมไปขั้นตอนต่อไปได้เลย

Time needed: 20 minutes.

ขั้นตอนการติดตั้ง WordPress บนเซิร์ฟเวอร์จริง (Webmin)

  1. ชื่อฐานข้อมูล และ รหัสผ่านเข้าฐานข้อมูล

    โดยปกติถ้าเราเช่าเครื่องเซิร์ฟเวอร์จากผู้ให้บริการ เขาจะให้ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านเข้าใช้งานฐานข้อมูลมาด้วย หรือเราจะเข้าไปดูเองใน Webmin ก็ได้ เมื่อได้ข้อมูลตรงนี้แล้ว เก็บเอาไว้ก่อน เราจะเอาข้อมูลนี้ไปใช้ในขั้นตอนการตั้งค่าต่อไปวิธีการดู User Password ของฐานข้อมูล

  2. ดาวน์โหลด WordPress Core เวอร์ชันล่าสุดจาก wordpress.org

    ทำการดาวน์โหลด WordPress core เวอร์ขันล่าสุดสามารถโหลดได้จาก wordpress.org/download/ ดาวน์โหลด WordPress เวอร์ชันล่าสุด

  3. อัพโหลด Source file ขึ้นไปที่เซิร์ฟเวอร์

    หลังจากที่เราดาวน์โหลด Srouce code WordPress core ที่เป็นเวอร์ล่าสุดมาเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการอัพโหลดกลับขึ้นไปที่เซิร์ฟเวอร์ของเรา โดยทำการอัพโหลดขึ้นไปไว้ที่ /publich_htmlเลือก Folder ที่ต้องการอัพโหลด (public_html)

  4. ทำการ Extract file

    เนื่องจากไฟล์ที่เราอัพโหลดขึ้นไปเป็นไฟล์ zip จะต้องทำการแตกไฟล์ออกมาก่อนแตกไฟล์ wordpress.zip

  5. ย้ายไฟล์ออกมาจากโฟลเดอร์ wordpress

    เนื่องจากไฟลที่เราเพิ่ง Extract จะเข้าไปอยู่ในโฟลเดอร์ชื่อ wordpress ให้ทำการย้ายไฟล์เหล่านี้ออกมาไว้ที่ /public_htmlCut WordPress files

  6. ย้ายไฟล์ออกมาให้อยู่ใต้ public_html

    เมื่อ cut ไฟล์จากขั้นตอนก่อนหน้านี้แล้ว ให้เราเปิดย้อนกลับมาที่โฟลเดอร์ public_html แล้ววางไฟล์ และลบไฟล์/โฟลเดอร์ที่ไม่จำเป็นออกไปPast files under public_html

  7. เปลี่ยนชื่อไฟล์ wp-config-sample.php เป็น wp-config.php

    ทำการเปลี่ยนชื่อไฟล์ wp-config-sample.php ซึ่งเป็นไฟล์ตัวอย่างการ config ของ wordpress เป็น wp-config.phprename wp-config-sample.php

  8. นำข้อมูล ชื่อฐานข้อมูล ชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่าน จากข้อ 1 มาตั้งค่า wp-config.php

    คลิกขวาเพื่อแก้ไขไฟล์ wp-config.php จากนั้นนำข้อมูลที่เราได้จากข้อแรกคือ ชื่อฐานข้อมูล ชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่านมาใส่ จากนั้นก็บันทึกไฟล์Setting wp-config.php

  9. เปิดกลับไปที่หน้าหลักโดเมนของเราเพื่อทำการติดตั้งเวิร์ดเพรส

    เปิด URL ไปที่หน้าแรกของเว็บไซต์เพื่อเริ่มติดตั้ง WordPress ถ้าหากเราตั้งค่าในข้อก่อนหน้านี้ถูกต้อง จะไม่มี Error และสามารถเริ่มตั้งค่าเว็บไซต์ได้ ให้เราทำการเลือกภาษาที่ต้องการติดตั้ง จากนั้น Continue และตั้งค่าอื่นๆไปจนเสร็จWordPress › Installation

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ หลังจากที่เราได้ลองทำ การติดตั้ง WordPress บนเซิร์ฟเวอร์จริง แล้วมีอะไรที่เราติดขัด หรือว่าขั้นตอนตรงไหนที่ไม่เข้าใจ สามารถใช้กล่องแสดงความคิดเห็นด้านล่างให้เป็นประโยชน์ สอบถามหรือเสนอแนะเข้ามาได้ ถ้าไม่เข้าใจตรงไหนผมก็จะอธิบายเพิ่ม หรือ ส่วนไหนที่ขาดหายไปสามารถแนะนำเข้ามาได้เลยครับ ^^

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ การติดตั้ง WordPress บนเซิร์ฟเวอร์จริง

เราสามารถใช้ FTP ในการอัพโหลดไฟล์ WordPress core ได้หรือไม่

จากขั้นตอนที่ 3 จริงๆแล้วเราสามารถอัพโหลดไฟล์วิธีอื่นที่สะดวกกว่านี้ก็ได้ครับ ไม่จำเป็นต้องอัพโหลดผ่าน Browser แบบที่ผมทำก็ได้ ถ้าใครที่สะดวกที่จะอัพโหลดแบบ FTP ก็สามารถทำได้เลย

ยังไม่มีเครื่องเซิร์ฟเวอร์จะลองติดตั้งได้อย่างไร

เราสามารถใช้โปรแกรมจำลองเครื่องเซิร์ฟเวอร์ในคอมพิวเตอร์ของเราได้ ถ้าเพื่อนๆไม่มีเครื่องเซิร์ฟเวอร์จริงๆ ก็สามารถใช้วิธีนี้ได้ โปรแกรมที่นิยม เช่น XAMPP