อุบัติเหตุไฟฟลัดวงจรที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาเป็นสิ่งทีต้องระวัง เพราะนอกจากจะเสี่ยงทำให้เกิดอุบัติเหตุต่อบุคคลแล้ว ยังมีโอกาสเสี่ยงเกิดอัคคีภัยได้อีกด้วย ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ด้วยอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยที่เกี่ยวกับวงจรไฟฟ้าอย่างเบรกเกอร์กันดูด ที่พร้อมจะตัดวงจรแบบอัตโนมัติเมื่อค่ากระแสไฟรั่วเกินกำหนด หากใครยังนึกภาพไม่ออกว่าเบรกเกอร์กันดูดมีหน้าที่อย่างไร บทความนี้มีคำตอบ
เบรกเกอร์กันดูด อุปกรณ์เซฟตี้ไฟฟ้าที่ต้องมี !
โดยทั่วไปเบรกเกอร์กันดูดจะสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 รูปแบบการทำงานหลักๆ ได้แก่ เบรกเกอร์กันดูดที่ใช้การทำงานของแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic) ที่นับว่าเป็นระบบที่มีความน่าเชื่อถือสูง ทำการตัดวงจรไฟฟ้าได้โดยไม่อาศัยไฟฟ้าเลี้ยงวงจร
ในส่วนของแบบที่สองก็จัดว่าเป็นอุปกรณ์กันดูดที่ตรวจจับได้โดยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีขนาดเล็ก ทั้งยังมีความแม่นยำสูง อย่างไรก็ตามยังมีข้อด้อยด้านการทำงานที่ต้องใช้ไฟฟ้าเลี้ยงวงจนตลอดเวลา ทำให้ไม่สามารถตัดกระแสไฟรั่วที่เกิดจากกรณีสายนิวตรอนหลุดหรือขาดได้นั่นเอง ด้วยเหตุนี้หากใช้ตัวกันดูดประเภทหลังจึงต้องทำให้ต่อสายดินเพิ่มเติม เพื่อป้องกันเหตุไฟดูดจากสายนิวตรอนชำรุดได้ทันท่วงที
1. RCCB (Residual Current Circuit Breaker)
ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้องกันไฟรั่ว/ไฟดูดเพียงอย่างเดียวอ้างอิงตามมาตรฐาน มอก. 2425-2552 และ IEC 61008 ที่โดยปกติจะแนะนำให้ติดตั้งควบคู่กับฟิวส์ หรือเซอร์กิตเบรกเกอร์ เพื่อความปลอดภัยยิ่งขึ้น
2. RCBO (Residual Current Circuit Breaker with Over Current Protection)
ทำหน้าที่ทั้งป้องกันไฟรั่ว/ไฟดูด ป้องกันไฟฟ้าเกินพิกัด(Overload) และไฟฟ้าลัดวงจร(Short Circuit) อ้างอิงตามมาตรฐาน มอก. 909-2548 และ IEC 61009จุดเด่นของเบรกเกอร์ชนิดนี้คือ มีขนาดเล็กพิเศษ ทำให้สามารถประหยัดพื้นที่ภายในตู้คอนซูมเมอร์ยูนิตทั้งนี้ยังมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นแบบ 2 ช่องอุปกรณ์เพื่อติดตั้งแทนเซอร์กิตเบรกเกอร์เมน และ 1 ช่องอุปกรณ์เพื่อติดตั้งแทนเซอร์กิตเบรกเกอร์ลูกย่อยเพื่อลดความยุ่งยากในการเปลี่ยนหรือปรับปรุงตู้คอนซูมเมอร์ยูนิตที่มีอยู่เดิมหรือติดตั้งใหม่ก็ตาม
จะเห็นได้ว่าเบรกเกอร์กันดูดทั้งสองชนิด แม้จะมีจุดประสงค์ในการใช้งานที่เหมือนกันอย่างการรักษาความปลอดภัย ป้องกันอุบัติเหตุจากเหตุไฟฟ้าลัดวงจรได้เหมือน ๆ กัน ได้ก็ไม่ได้มีระบบการทำงานที่ตรวจจับไฟฟ้าลัดวงจร รวมไปถึงขอบเขตในการป้องกันไฟฟ้าที่เท่ากัน ดังนั้น หากคุณจะเลือกติดตั้งเบรกเกอร์ที่ใช้สำหรับป้องกันไฟฟ้ารั่วไหล และเหตุไฟดูดได้นั้น ต้องศึกษาให้ดี รวมถึงดูจุดประสงค์ในการใช้งานให้เหมาะสม เพื่อการติดตั้งและใช้งานได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด